LINE@SPsmartplants

วิกฤตภัยแล้ง กับ การปรับตัวในยุค 4.0

ภัยแล้ง

วิกฤตภัยแล้ง กับ การปรับตัวในยุค 4.0

     ช่วงนี้มีแต่ข่าวเรื่องโรค Covid-19 แล้วทุกคนทราบกันไหมคะว่าช่วงนี้ในหลายจังหวัดเกิดปัญหาภัยแล้งขึ้น นอกจากเรื่องโรคระบาดแล้วยังต้องมาเจอภัยแล้งอีก เป็นอะไรที่ทำให้ลำบากจริงๆในขณะนี้ ซึ่งปีนี้เริ่มเกิดภัยแล้งมาตั้งแต่ต้นปี โดยคาดการณ์ว่าจะมีความรุนแรงเทียบเท่าในปี 2522

     ในปี 2563 นี้วิกฤตภัยแล้งได้เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี สาเหตุก็มาจากปี 2562 ที่ผ่านมา ถ้ายังจำกันได้ประเทศไทยประสบภัยแล้งอย่างหนักจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้มีฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 10% และฝนทิ้งช่วงอยู่นาน 2 เดือน (เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม) ทำให้น้ำในเขื่อนมากกว่า 10 แห่ง มีปริมาณน้อยจนเข้าถึงขั้นวิกฤต 

     โดยธรรมชาติฤดูกาลของไทยจะแบ่งเป็น “ฤดูฝน” กับ “ฤดูแล้ง” ในฤดูฝน นอกจากจะเป็นช่วงเวลาของการเพาะปลูกแล้ว ยังเป็นช่วงของการกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในฤดูแล้งอีกด้วย แต่เมื่อฤดูฝน มีฝนตกน้อยมาก พอถึงฤดูแล้ง น้ำที่กักเก็บเอาไว้ได้ หรือ “น้ำต้นทุน” จึงมีปริมาณต่ำกว่าความต้องการใช้จริง ในปลายเดือนมีนาคม พบว่า เขื่อนหลักทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีระดับน้ำที่ใช้ได้จริงมีแค่เพียง 1 ใน 4 แห่งเท่านั้น ที่มีระดับน้ำเกิน 20% ส่วนอีก 3 แห่งที่เหลือสามารถใช้น้ำได้จริงไม่เกิน 15%

     ในสถานการณ์ภัยแล้งแบบนี้ การบอกให้ใช้น้ำอย่างประหยัดอย่างเดียวคงไม่พอ เราจึงมีคำแนะนำมาฝากเหล่าเกษตรกรหรือผู้ริเริ่มอยากจะเป็นเกษตรกรกันค่ะ  

1.เลือกชนิดพืชที่เหมาะกับสถานการณ์ภัยแล้ง

     เนื่องจากการทำนาข้าวใช้น้ำจำนวนมากในการเพาะปลูก เพราะต้องขังน้ำไว้ในนาข้าว ดังนั้น การเปลี่ยนมาเลือกชนิดพืชที่ใช้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น และต้องการปริมาณน้ำน้อย แต่ยังให้ผลตอบแทนได้ดี ย่อมเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า พืชดังกล่าว ได้แก่ ข้าวโพด, แตงกวา, ฟักทอง, แตงโม, ถั่วฝักยาว และผักบุ้ง หากท่านใดสนใจสามารถหาข้อมูลพืชเหล่านี้เพิ่มเติมกันได้นะคะ

2.เลือกวิธีการให้น้ำที่ประหยัดที่สุด

     ระบบน้ำหยดเป็นระบบที่ช่วยประหยัดน้ำได้มากที่สุด เพราะเป็นการให้น้ำโดยตรงแก่พืช ดินสามารถดูดซับน้ำได้เต็มที่ ที่สำคัญมีอัตราการสูญเสียหรือระเหยน้ำน้อยที่สุด อีกทั้งการใช้เศษใบไม้คลุมโคนต้นไว้ยังช่วยรักษาความชื้นในดินได้ดีอีกด้วย 

3.สำรองน้ำไว้ใช้ช่วยได้ในระยะยาว

     จากการทำเกษตร แค่สำรองไว้ในถังเก็บขนาดคงไม่พอ แต่ควรสำรองน้ำโดยการขุดบ่อหรือสระไว้เก็บน้ำ เมื่อฝนตกบ่อหรือสระที่ขุดก็จะกักเก็บน้ำฝนธรรมชาติให้คุณได้

4.Sensor ตรวจจับค่าสภาพแวดล้อม คือ ตัวช่วยในยุคเกษตรอัจฉริยะ

     Smart Farm มีประโยชน์ในหลายๆ เรื่อง แต่ที่สำคัญในหน้าแล้งแบบนี้ คือ การประหยัดน้ำ การใช้เครื่องมือเซ็นเซอร์คอยตรวจจับสภาพแวดล้อมบริเวณสวน ช่วยให้ทราบว่าเวลาไหนควรรดน้ำ เวลาไหนงดเว้นการรดน้ำและพืชยังสามารถเติบโตได้ โดยให้น้ำในปริมาณที่พอเหมาะและเพียงพอกับความต้องการของพืช

เห็นไหมคะว่า ยิ่งเรามีการเตรียมตัวมากเท่าไร เราก็ยิ่งรับมือปัญหาภัยแล้งได้มากเท่านั้น

อ้างอิง: ไทยรัฐออนไลน์
เขียนเพิ่มเติม: SPsmartplants